ซุ้ม ไก่ชน เลี้ยงไก่ชน การเริ่มต้นที่คุณต้องลอง
ซุ้ม ไก่ชน ในการเริ่มต้น เลี้ยงไก่ชน โดยเฉพาะจะเลี้ยงเป็นการค้า มีหลักการที่ผู้จะเริ่มต้นเลี้ยงควรพิจารณาหรือคำนึงถึง เพื่อให้กิจการเลี้ยงไก่ชนประสบผลสำเร็จด้วยดี มีดังต่อไปนี้
- ปัญหาด้านตลาดจำหน่าย นับว่าเป็นปัจจัยแรกสุดที่ผู้จะเริ่มต้นเลี้ยงต้องคำนึง และศึกษาเพราะว่าผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ หรือขายได้ราคาไม่ดี ไม่คุ้มทุนการผลิตกิจการก็ไปไม่รอด ตลาดจำหน่ายไก่ชนมีหลายกลุ่ม ผู้ที่จะเริ่มต้นเลี้ยงต้องศึกษาวงจรและความเป็นไปของตลาดให้ดี ฟาร์มไก่ชน
- ตัวบุคคลที่จะเลี้ยง ควรเป็นผู้ที่มีใจรักและมีความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากไก่ชนโดยเฉพาะไก่พม่า เป็นไก่ที่ขนาดเล็ก ที่มีจุดอ่อนตรงค่อนข้างตื่นตกใจง่าย เปรียว รวมทั้งลักษณะบางอย่าง ความเจ็บป่วยไม่สมบูรณ์ ก็ตรวจดูได้ค่อนข้างยาก ทำให้จำเป็นต้องใช้ผู้เลี้ยงที่ค่อนข้างจะละเอียดและมีจิตใจชื่นชอบไก่ชนอย่างแท้จริง
- การเลือกทำเลและสถานที่เลี้ยง ไก่เป็นสัตว์ที่ได้เปรียบสัตว์ชนิดอื่นๆ ตรงไม่ค่อยก่อให้เกิดมลภาวะ ทั้งทางด้านกลิ่นและเสียงร้องมากแบบสัตว์อื่น ทำให้สามารถเลี้ยงได้เกือบทุกที่ แต่การจะเลี้ยงเป็นกิจการใหญ่ ซุ้มหรือฟาร์มขนาดใหญ่ ควรเลือกทำเลที่ดี ซุ้มไก่ชนโกวเซ้มฟาร์ม สะดวกแก่การคมนาคมขนส่งมีแหล่งน้ำแหล่งอาหาร และปลอดภัยจากโรคระบาดของไก่
- พันธุ์ไก่ชน ซุ้มไก่ชนสวยๆ ควรเลือกเลี้ยงแต่ไก่ที่มีคุณภาพดี โตไวให้ผลผลิตสูง มีลีลาลูกตีที่ดี ไก่พันธุ์ดี แม้ราคาจะสูงกว่าแต่ก็คุ้มค่าเพราะจะช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่วยลงได้ แต่ถ้าเป็นผู้เลี้ยงมือใหม่ ควรเริ่มต้นเลี้ยงด้วยไก่สายเลือดเหล่ากอดี แข็งแรงทนทานต่อสภาพโรค และดินฟ้าอากาศไประยะหนึ่งก่อน พอคุ้นเคยมีประสบการณ์แล้ว ค่อยยกระดับการเล่น หรือเพิ่มปริมาณการเลี้ยงในภายหลัง
- การลงทุน ในกิจการ ควรเริ่มต้นจากกิจการขนาดเล็กเลี้ยงไก่จำนวนน้อยตัวไปก่อนเพื่อเป็นการเรียนรู้หาความชำนาญ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้ของตลาดก่อน เมื่อเห็นว่าทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดีไม่มีปัญหา แล้วจึงขยายกิจการเต็มที่

หลักในการเลือกซื้อไก่มาเลี้ยง ซุ้มไก่ชนดังๆ
ในการจะเลือกซื้อไก่ชนไปเลี้ยง เพื่อให้ได้ไก่ที่มีคุณภาพดี ให้ผลผลิตสูง และมีคุณสมบัติหรือความต้องการตรงตามจุดประสงค์
- กรณีซื้อไก่พม่ามาเลี้ยงควรเลือกซื้อจากซุ้มฟาร์มหรือแหล่งที่เชื่อถือได้ ซุ้มไก่ชนดังๆ เป็นแหล่งที่มีไก่สายพันธุ์ดี คุณภาพดี ไม่มีปัญหาเรื่องโรคระบาดหรือข้อเสียหายอื่นๆ
- เลือกประเภทหรือสายพันธุ์ไก่ให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเลี้ยง เช่น ถ้าเราต้องการจะเลี้ยงไก่ เพื่อใช้แข่งขันก็ใช้ไก่สายพันธุ์พัฒนาที่โครงสร้างดี ลูกตีแรง ตีเจ็บ แต่ถ้าต้องการไก่ที่ใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ถ้าเป็นไก่เชิงก็หาไก่เชิงเลือดร้อย ถ้าเป็นไก่พม่าก็หาเลือดสูงแบบดั้งเดิม มาเป็นตัวถ่ายเลือด
- คัดเลือกแต่ไก่ที่มีรูปร่างที่ดี ไม่มีลักษณะด้อยหรือลักษณะที่ไม่ต้องการต่างๆ เช่น ปากกลวง นิ้วเก ปีกขาดสองตอน อกคด หลังค่อมถ้าเป็นพันธุ์แท้ เลือดร้อย ต้องมีลักษณะตรงตามพันธุ์นั้นๆ
- สุขภาพ เลือกแต่ไก่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรงลักษณะภายนอกขนสะอาดเป็นมัน หน้าแดงตาแจ่มใส ท่าทางตื่นตัว ตบปีกขันคึกคักตลอดเวลา ไม่มีท่าทางหงอยเหงา เชื่องซึม และไม่มีโรคหรือร่องรอยของโรคต่างๆ เช่น โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ มีน้ำมูก หรือน้ำตาไหล ตาบวม ไม่มีไร กลากแผลหรือข้อเสียหายอื่นๆ
- ประวัติ คัดเลือกแต่ไก่จากคอกที่มีสายเลือดและประวัติการแข่งขันดี เช่น พ่อแม่ผ่านไฟท์มามาก พ่อแม่ให้ลูกต่อครอกสูง แม่เลี้ยงลูกเก่ง ลูกมีการเจริญเติบโตเร็ว และสม่ำเสมอทั้งครอก
ลักษณะของไก่ตัวเก่ง
ถ้าหากเราไปหาซื้อไก่ชนแต่ไม่มีโอกาสได้ปล้ำซ้อมดู มีเทคนิคในการเลือกซื้อดังนี้
- ไก่ตัวไหนที่ไม่หากินร่วมฝูงให้เลือกเอาไว้ก่อน ไก่พวกนี้จะมีปฏิภาณแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
- จับตัวดูโครงสร้าง ตัวเป็น 2 ท่อน หัวบานท้ายบานจะเป็นไก่ที่จับแล้วได้เปรียบ อกใหญ่ ปั้นขาใหญ่ จะแสดงถึงความแข็งแรงทรหดอดทน กระดูกปล้องคอใหญ่ชิด และจับดูตะเกียบต้องแข็งและชิดยิ่งชิดมากเท่าไรยิ่งดี ถ้าตะเกียบชิดจะเป็นไก่เร็ว
- เลือกดูแข้งกลมเล็กจะเป็นไก่ตีเจ็บเกล็ดหน้าใหญ่เกล็ดด้านข้างเรียงเป็นระเบียบท้องแข้งด้านหลังต้องเต็มจับไก่ยกดูไก่ต้องเหยียดขาทั้ง 2 ข้าง
- ดวงตากลมวาวเห็นเส้นเลือดตาชัดเจนสีตาสีเดียวกับขนหรือตาปลาหมอ ยิ่งเป็นไก่ตาคว่ำยิ่งดีใหญ่ เพราะไก่ตาคว่ำพวกนี้จะดุ และหัวใจเกินร้อย ส่วนสีไก่สมัยนี้ไม่ต้องสนใจเท่าไรแต่ถ้าเป็นสีที่ตรงตามสายพันธุ์ก็ดีเพราะจะมีความสวย
- ถ้าซื้อไก่ให้ดีที่สุดควรปล้ำดู ถ้าปล้ำได้แล้วค่อยพิจารณาส่วนอื่นที่หลัง ซุ้มไก่ชนใกล้ฉัน

เทคนิคการเพาะขยายพันธุ์ไก่ชน (BREEDING) เบื้องต้น
สำหรับคนที่จะเริ่มเพาะไก่ชนเป็นครั้งแรก ควรจะศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงจากตำรับตำราจากผู้รู้และเอกสารต่างๆ ซึ่งกรมปศุสัตว์มีแจกฟรีและควรเลี้ยงจำนวนน้อยไปหาจำนวนมาก จะเป็นการเรียนรู้และทำความเข้าใจอุปนิสัยใจคอ โรคไก่ ภัยธรรมชาติ รวมตลอดการทำกรงหรือเล้าไก่ให้ถูกลักษณะ อุปกรณ์อีกอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ สุ่มไก่ สำหรับขังไก่เพื่อให้ไก่คุ้นเคยกับสถานที่และขังลูกไก่ เมื่อเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ และโรงเรือนพร้อมแล้ว ก็มาถึงการหาไก่มาเลี้ยง
การเพาะเลี้ยง ซุ้ม ไก่ชน
วิธีที่ 1 การซื้อหาลูกไก่อายุ 2-3 เดือนมาเลี้ยง 2-3 คู่ ซึ่งราคาไม่แพงมากนัก แต่การซื้อหาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าเป็นไก่ชนสายเลือดดีนั้นหายาก และถ้าสายเลือดไม่ดี พอโตมานำไปซ้อมฝีตีนชั้นเชิงไม่เอาไหน จะทำให้หมดกำลังใจเกิดความท้อถอย เลิกเลี้ยงเอาง่ายๆ หรือดีดไก่ไปเลย
วิธีที่ 2 การซื้อพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์มาเพาะเลี้ยง โดยใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว แม่พันธุ์ 2-3 ตัว ก็พอ สำหรับครั้งแรกเป็นการทดลองและเรียนรู้ไปในตัวอย่าโลภใช้แม่พันธุ์มากๆ หากไม่มีประสบการณ์ลูกไก่ที่เกิดจะมีปัญหาการเลี้ยง ส่วนการคัดพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์มีหลักดังนี้
- สีของพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ควรหาพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ที่เป็นสีเหลืองหางขาว หรือ ประดู่หางดำเพราะเป็นสีนิยม ถ้าเพาะลูกไก่ออกมาได้เป็นสีเหลืองหางขาว หรือ ประดู่หางดำ เก่งไม่เก่งก็ขายได้ เพราะเป็นพิมพ์นิยม ส่วนลักษณะของพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ก็ดูตามที่กล่าวมาแล้วในเรื่องโหงวเฮ้งไก่เก่ง
- สายเลือดของพ่อพันธุ์-แม่พันธุ์ ควรหาพ่อพันธุ์ที่มีสายเลือดดี สายเลือดเก่งจากแหล่งที่เชื่อถือและไว้ใจได้ โดยเฉพาะแม่พันธุ์ ซึ่งแต่ละซุ้มแต่ละคนมักจะหวงสายพันธุ์ของตัวเองไม่ค่อยยอมขาย และบางคนก็นำสายพันธุ์ที่ไม่ดีไม่เก่งมาหลอกขาย ทำให้วงการไก่ชนไม่ค่อยพัฒนาไปเท่าที่ควร

การเลือกทำเลเล้าไก่ โรงเรือน ซุ้ม ไก่ชน
การเลี้ยงไก่โดยทั่วไปสามารถเลี้ยงได้ทุกที่หรือมีบ้านอยู่ที่ไหนก็เลี้ยงที่นั่น หากเลี้ยงจำนวนไม่มากนัก แต่ถ้าคิดจะเลี้ยงเป็นอาชีพเสริมหรือเลี้ยงเชิงธุรกิจแล้ว ทำเลที่ตั้งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งเสริมให้การเลี้ยงไก่นั้นประสบความสำเร็จได้ ดังนั้นการเลือกสถานที่เลี้ยงควรพิจารณาคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ด้วย
- ควรเป็นที่เนินสามารถระบายน้ำได้ดีเวลาฝนตกน้ำจะไม่ท่วม ถ้าเป็นที่ลุ่มจะต้องมีภาระขนย้ายในช่วงฤดูฝน
- มีแหล่งน้ำจืด มีแหล่งน้ำจืดเพราะไก่จะกินน้ำตลอดเวลา หากไก่ขาดน้ำแล้วการเจริญเติบโตจะช้า
- พื้นที่เลี้ยง ไม่ควรเป็นแหล่งที่เคยมีโรคไก่ระบาดมาก่อน
- แหล่งชุมชน ควรอยู่ห่างแหล่งชุมชนพอสมควรเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้กลิ่นและเสียงไปรบกวนกับชาวบ้านใกล้เคียงและป้องกันโรคระบาดที่มาจากแหล่งชุมชน
- การคมนาคม มีเส้นทางคมนาคมผ่านเพื่อสะดวกในการขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนอาหาร
- ควรมีต้นไม้ใหญ่ บริเวณที่เลี้ยงควรมีต้นไม้ใหญ่พอสมควรเพื่อเป็นที่หลบแดดทำให้ไก่ไม่เครียด
- ไม่ห่างจากที่พัก ต้องไม่ห่างจากที่พักเพื่อสะดวกการดูแลและป้องกันขโมยและสัตว์ร้ายต่างๆ เช่น งู พังพอน สุนัข ฯลฯ
- รั้ว ควรมีรั้วรอบขอบชิดเพื่อป้องกันไก่ออกไปหากินไกลๆ อาจถูกขโมย ถูกรถทับถูกสัตว์ร้ายอื่นๆ กัดหรือกินได้
ซุ้ม ไก่ชน โรงเรือน/เล้าไก่
ปกติการเลี้ยงไก่ซนหรือไก่พื้นเมืองตามชนบทมักเลี้ยงแบบปล่อยตามบ้าน บริเวณบ้านหรือหัวไร่ปลายนาตามสภาพบ้านเรือนที่เกษตรกรอาศัยอยู่ ชาวบ้านก็ปล่อยให้นอนตากลม ดังนั้น ถ้าต้องการเลี้ยงไก่ชนให้ได้ผลดีและสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงดี การทำเล้าหรือกรงให้ไก่นอนควรมีมุ้งด้วย เพราะปัจจุบันนี้ยุงเยอะเหลือเกิน หากปล่อยให้ไก่อยู่ตามยถากรรม ไก่ที่โตขึ้นมักไม่ค่อยสมบูรณ์และเป็นโรคต่างๆ ได้เมื่อเปลี่ยนฤดูหรือเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง ยิ่งถ้าเลี้ยงเป็นฟาร์มเชิงธุรกิจ เล้าหรือกรงยิ่งมีความจำเป็นยิ่งขึ้น ลักษณะเล้าไก่หรือกรงไก่สำหรับให้ไก่นอนควรมีลักษณะดังนี้
- ขนาด ขนาดของโรงเรือนหรือเล้าไก่ควรมีขนาดกว้าง 3×4 เมตร สูงประมาณ 2.0-2.5 เมตร สำหรับไก่ 30-40 ตัว (ไก่รุ่น)
- หลังคา แบบจั่ว หรือเป็นเพิงก็ได้ มุงด้วยจากหรือสังกะสีหรือกระเบื้องแล้วแต่สะดวก
- ฝา (ข้างฝาทั้ง 4 ด้าน) ทำด้วยลวดตาข่ายหรือไม้แล้วแต่สะดวก มีประตูปิดเปิดและควรกรุด้วยตาข่ายมุ้งพลาสติกหรือมุ้งลวด ก็ได้
- โรงเรือน หรือเล้าไก่ ต้องสามารถป้องกันสัตว์ร้ายต่างๆ ได้ ภายในโรงเรือนควรโปร่ง อากาศระบายได้ดี แต่ไม่ถึงกับมีลมโกรกแรง
- คอน ในเล้าต้องทำคอนหลายๆ คอนและทำให้ห่างกันพอสมควร เพราะถ้าคอนน้อยหรือคอนชิดกัน ไก่มักจะจิกตีกัน
- รังไข่ ถ้าเป็นการเพาะเลี้ยงแบบปล่อยควรทำรังหลายๆ รัง รอบโรงเรือนและภายในเล้าไก่ เพื่อป้องกันการแย่งรังกันของตัวเมียที่ออกไข่พร้อมๆ กันอาจทำจากเข่งหรือกระบุงหรือลังไม้แล้วแต่สะดวกประตูปิดเปิดที่สามารถเข้าออก
- ประตู เล้าไก่ควรมีได้สะดวกในการเข้าไปทำความสะอาดและจับไก่ทำวัคซีน
- พื้นเล้า การถมด้วยดินให้แน่นให้สูงกว่าระดับดินเดิมประมาณ 10-15 เซนติเมตรและควรใช้แกลบ ขี้เลื่อยหรือฟางปูทับอีกชั้นหนึ่งเผื่อไก่โดดลงจากคอนอุ้งจะไม่เจ็บหรือเป็นหน่อได้
- บริเวณรอบนอกเล้า ควรทำร่องระบายน้ำเอาไว้ เวลาฝนตกน้ำจะได้ไม่ท่วมบริเวณพื้นของเล้า
- มีม่านกันแดดกันฝน สำหรับด้านที่มีแดดส่องมากและฝนสาด ควรมีม่านกั้น โดยเฉพาะที่มีรังไข่ เพราะถ้าไข่ถูกแดดและฝนจะฟักไม่ออก
- ถ้าหากมีบ่อเลี้ยงปลา ควรทำเล้าไก่ยื่นเข้าไปในบ่อเลี้ยงปลา เพราะขี้ไก่จะเป็นอาหารเสริมให้ปลาได้เป็นอย่างดี
- หากเป็นเล้าไก่ที่เลี้ยงแบบขัง เล้าไก่ควรทำเป็นสองส่วน คือ ส่วนหนึ่งเป็นเล้านอน และอีกส่วนหนึ่งเป็นกรงตาข่ายแต่ไม่มีหลังคา เพื่อให้ไก่ออกมาเดินเล่นตอนกลางวัน ส่วนขนาดเล็ก-หรือใหญ่ขึ้นอยู่กับจำนวนปริมาณไก่และพื้นที่
- บริเวณรอบเล้าไก่ ควรปลูกไม้ยืนตันเพื่อเป็นร่มเงาให้กับโรงเรือนหรือเล้าไก่ไมให้ร้อนหรือมีลมกระโซกแรงเกินไป