วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด การเลี้ยงโค ให้สุขภาพดีมือใหม่ต้องรู้
วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด การเลี้ยงโค ให้สุขภาพดีที่เกษตรกรมือใหม่ต้องรู้ การเลี้ยงโค ให้มีสุขภาพดีเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผสมติดของแม่โค และทำให้แม่โคให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ ความต้องการอาหารของแม่โคระยะต่างๆ แตกต่างกัน การจัดการเลี้ยงดูแม่โคสามารถจำแนกออกเป็นระยะต่างๆตามความต้องการอาหารของโคได้ 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 จากคลอดลูก ถึง 3-4 เดือนหลังคลอด ซึ่งเป็นระยะผสมพันธุ์จนถึงตั้งท้อง
- ระยะที่ 2 ท้อง 4-6 เดือน
- ระยะที่ 3 ท้อง 3 เตือนก่อนคลอด เป็นระยะที่แม่ใคท้องแก่จนถึงคลอดลูก
แม่โคระยะที่ 1 จะมีความต้องการ อาหารคุณภาพดีมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ระยะที่ 3 ระยะนี้เป็นระยะก่อนผสมพันธุ์ เมื่อผสมติดแล้วจะเริ่มตั้งท้องและแม่โคยังผลิตน้ำนมเลี้ยงลูกที่ยังติดแม่อยู่ การให้อาหารมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับแม่โคระยะนี้เพราะแม่โคต้องการอาหาร สำหรับพื้นฟูระบบอวัยวะสืบพันธุ์และผลิตน้ำนม

ดูวัวชนสด กับเว็บวัวชนดีที่สุดในเอเชีย ubett88.info เพียงแค่ สมัครสมาชิก ดูวัวชนออนไลน์ฟรี ทุกคู่ ทุกสนาม ขาวหินหงษ์ชนล่าสุด พร้อมรับเครดิตฟรี สำหรับเป็นเงินทุนในเดิมพันวัวชนแบบฟรีๆ ไม่ต้องฝากเงินก่อน
การให้อาหาร ในระยะคลอดลูกจนถึงผสมพันธุ์
ระยะจากคลอดลูกถึงผสมพันธุ์หากแม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจะทำให้การผสมติดดีขึ้นและลดระยะห่างของการให้ลูกลง แต่การทำให้โคเพิ่มน้ำหนักโดยให้อาหารข้นเสริมต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ถ้าให้แม่โคได้กินหญ้าอ่อนในแปลง 3-4 สัปดาห์ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์ แม่โคจะเริ่มทำน้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีการผสมพันธุ์ดีขึ้น เมื่อแม่โคคลอดแล้วจะกินอาหารเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการให้อาหารแม่โคอุ้มท้องของศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก
การผสมพันธุ์แม่โค ในระยะเป็นสัด วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด
เมื่อคลอดแล้วปกติแม่โคจะกลับเป็นสัดอีกภายใน 30-50 วัน แต่ควรผสมหลัง 60 วัน การผสมภายใน 40 วันหลังคลอดอาจมีปัญหาทำให้เกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ควรผสมหลัง 60 วัน การที่จะให้แม่โคให้ลูกปีละตัว แม่โคจะต้องได้รับการผสมอีกภายใน 80 วัน ถ้าแม่โคผอมจะกลับเป็นสัดช้าลง แม่โคจะผสมติดได้จะต้องอยู่ในระยะที่เป็นสัดซึ่งเป็นระยะที่แม่โคจะแสดง อาการมีอารมณ์ทางเพศและพร้อมที่จะยอมให้ผสม แม่โคที่เป็นสัดจะมีอาการกระวนกระวายกว่าปกติ ไล่ขึ้นทับตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ อวัยวะเพศจะบวมกว่าปกติ ผนังด้านในช่องคลอดเมื่อใช้เมือเปิดออกดูจะมีสีชมพูออกแดง ในช่วงต้นของการเป็นสัดอาจมีเมือกใสๆ ไหลออกมาก ในช่วงหลังๆ น้ำเมือกจะข้นและเหนียวขึ้น แม่โคจะเป็นสัดอยู่นานประมาณ 24-36 ชม. ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติด อีกประมาณ 20-22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน) จะกลับเป็นสัดใหม่อีก
ช่วงการเป็นสัดได้แก่ระยะการเป็นสัดจากครั้งก่อนถึงครั้งหลัง ช่วงการเป็นติ) ของโคเฉลี่ย 21 วัน แต่แม่โคในฝูงประมาณ 84% จะมีช่วงการเป็นสัดในระยะ 18- 24 วันอีก 5% เป็นลัดก่อน 18 วัน และ 11% เป็นหลัง 24 วัน การเก็บประวัติการตัดของแม่โคจึงเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยสังเกตการเป็นสัดของแม่โคที่ใช้การผสมเทียมและการจูงผสม
วิธีการผสมพันธุ์ แม่โค วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด
การผสมพันธุ์แม่โค มีอยู่ 3 วิธี คือ
1. การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง เป็นการปล่อยพ่อพันธุ์ให้คุมฝูงแม่โคและให้มีการผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งมีข้อดีคือ ผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยลังเกตการเป็นสัดของแม่พันธุ์ พ่อพันธุ์จะทราบ และผสมเองแต่มีข้อเสียคือ ถ้าแม่พันธุ์เป็นสัดหลายตัวในเวลาใกล้เคียงกัน จะทำให้พ่อพันธุ์มีร่างกายทรุดโทรม วิธีแก้ไขขังพ่อพันธุ์ไว้เมื่อปล่อยแม่พันธุ์ออกไปเลี้ยงในแปลงหน้าแล้วนำพ่อพันธุ์เข้าผสมเมื่อฝูงแม่พันธุ์กลับเข้าคอก การขังพ่อโคไว้เพื่อให้พ่อโคมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้ประสิทธิภาพการผสมพันธุ์สูงขึ้น พร้อมที่จะผสมกับแม่โคได้เสมอ และอายุการใช้งานของพ่อโคจะยาวนานขึ้น
2. การจูงผสม เป็นการผสมโดยจูงพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์หรือจูงแม่พันธุ์มาผสมกับพ่อพันธุ์การผสมโดยวิธีนี้ควรแยกพ่อพันธุ์ออกเลี้ยงต่างหาก เพราะจะทำให้พ่อพันธุ์มีสุขภาพสมบูรณ์ดี และพ่อพันธุ์สามารถผสมกับแม่พันธุ์ได้จำนวนมากกว่าการใช้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดเอง ปกติพ่อโคสามารถใช้ผสมได้สัปดาห์ละ 5 ครั้ง หากมีการเลี้ยงดูที่ดี ขาวหินหงษ์ชนกี่ครั้ง
3. การผสมเทียม เป็นวิธีการผสมที่นำน้ำเชื้อพ่อพันธุ์มาผสมกับแม่พันธุ์ที่เป็นสัด โดยผู้ที่ทำการผสมเทียมจะสอดหลอดฉีดน้ำเชื้อเข้าไปในอวัยวะเพศของแม่โคที่เป็นสัด ปกติจะสอดหลอดผ่านคอมดลูก เข้าไปปล่อยน้ำเชื้อในมดลูกของแม่โค ตลาดซื้อขายวัว

การตั้งท้องและการกลับเป็นสัด วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด
หลังจากแม่โคได้รับการผสมพันธุ์จนติดแล้วตั้งท้องเฉลี่ยประมาณ 282 วัน (274 ถึง 291 วัน) ผู้เลี้ยงควรจดบันทึกวันที่ผสม แล้วอีกประมาณ 21 วันต่อไปต้องคอยสังเกตดูว่าแม่โคกลับเป็นสัดอีกหรือไม่ หากกลับเป็นสัดแสดงว่าผสมไม่ติดต้องผสมใหม่กลับเป็นสัดแสดงว่าผสมติดแล้ว แต่อีกทุกๆ 21 วันต่อไป ควรคอยเพื่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น การตรวจท้องเพื่อดูว่าแม่โคได้รับการผสมติดจนตั้งท้องจริงหรือไม่นั้น สามารถทำได้โดยการคลำตรวจดูมดลูกและรังไข่ผ่านทางทวารหนักตั้งแต่แม่โคตั้งท้องได้ 2-3 เดือนขึ้นไป ต้องใช้ผู้ที่มีความสามารถและมีประสบการณ์เป็นผู้ตรวจให้เท่านั้น ในปัจจุบันอาจใช้วิธีตรวจหาระดับฮอร์โมนในเลือดหรือในน้ำนมก็สามารถบอกได้ว่าตั้งท้องหรือไม่ แต่วิธีนี้ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการในการตรวจ จึงยังไม่เหมาะสมในการนำไปใช้กับสภาพการเลี้ยงทั่วไป แม่โคที่ไม่ท้องควรคัดออกแล้วเอาโคสาวที่ผสมติดเร็วแทนเป็นระยะที่ลูกโคโตเต็มที่แล้วและเตรียมตัวหย่านม หากลูกโคกินหญ้าและอาหารได้เก่งแล้ว แม่โคก็ต้องการอาหาร เพียงเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น ระยะนี้ความต้องการอาหารเพื่อเลี้ยงลูกในท้อง ยังน้อยอยู่ แม่โคจึงต้องการอาหารน้อยกว่าระยะอื่น สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยให้อาหารคุณภาพต่ำได้ ถ้าให้อาหารคุณภาพดีอาจทำให้แม่โคอ้วนเกินไป แต่ก็ควรระวังอย่าให้แม่โคผอม ควรมีไขมันสะสมอยู่บ้าง ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตากได้ให้อาหารแม่โคอุ้มท้อง โดยในฤดูฝนให้หญ้าสดเป็นหลัก ให้อาหารข้นเสริมบ้างตามสภาพของแม่โค ฤดูแล้วให้หญ้าหมักเป็นหลักเสริมด้วยอาหารข้นตัวละประมาณ 2 กก. นอกจากมีหญ้าไม่เพียงพอก็ใช้ฟางข้าวเสริมด้วยรำหยาบและอาหารข้น อาหารข้นที่เสริม อาจปรับใช้ตามวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นและให้มีราคาถูกที่สุดเพื่อประหยัดคำใช้จ่าย โดยคำนวณให้มีโภชนาหรือคุณค่าทางอาหารได้ตามความต้องการของแม่โคเป็นระยะที่สำคัญอีกระยะหนึ่งของแม่โค เพราะเป็นระยะที่ถูกในท้องเจริญเติบโตถึง 70-80% และแม่โคเตรียมตัวให้นมด้วย ถ้าให้อาหารคุณภาพไม่ดี แม่โคจะสูญเสียน้ำหนัก ซึ่งจะทำให้การกลับเป็นสัดหลังคลอดช้าลง มีผลทำให้ไม่ได้ลูกปีละตัวระยะนี้ควรให้แม่โคมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยน้ำหนักที่จะสูญเสียเมื่อคลอด โดยเฉพาะโคสาวเป็นสิ่งจำเป็นมาก
การให้อาหาร แม่โคท้องใกล้คลอด
แม่โคท้องใกล้คลอดจะกินอาหารน้อยกว่าเมื่อไม่ท้อง 12-13% แต่การกินอาหารจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังคลอด ดังนั้นระยะนี้จึงจำเป็นต้องให้อาหารคุณภาพดีหรือหากจำเป็นต้องให้อาหารเสริมเพื่อชดเชยจำนวนอาหารที่แม่โคกินน้อยลง ถ้าให้อาหารพลังงานไม่เพียงพอจะมีผลทำให้อัตราการผสมติดต่ำ อัตราการตายของลูกโคเมื่อคลอด และหย่านมสูง น้ำหนักลูกโคเมื่อคลอดและหย่านมต่ำ ดังนั้นควรแยกเลี้ยงดูต่างหาก ให้โคได้กินอาหารคุณภาพดีและทำให้แม่โคฟื้นตัวหลังคลอดได้เร็ว
การคลอด การเตรียมตัวก่อนคลอด
ก่อนคลอด 1 สัปดาห์ ควรแยกแม่โคให้อยู่ในคอกที่สะอาด มีฟางหรือหญ้าแห้งรอง หรือให้อยู่ในแปลงหญ้าที่สะอาดสามารถดูแลได้ง่าย ปกติแม่โคจะตั้งท้องเฉลี่ย 202 วัน (274-291 วัน) ถ้าเลยกำหนดคลอดแล้ว 10 วัน และแม่โคยังไม่คลอดต้องสังเกตและดูแลอย่างใกล้ชิด แม่โคส่วนใหญ่ไม่จำเป็นการช่วยในการคลอด ควรอยู่ห่างๆ ไม่ควรรบกวน แม่โคและควรคลอดลูกออกมาภายใน 2 ชั่วโมงหลังจากที่ถุงน้ำคร่ำปรากฎออกมา หากช้ากว่านี้ควรให้การช่วยเหลือ หากไม่คลอดภายใน 4 ชั่วโมง ลูกจะตาย หลังจากคลอดลูก 8-12 ชั่วโมง ถ้ารกยังไม่หลุดออกมาแสดงว่ารกค้าง ต้องให้สัตวแพทย์มาล้วงออกและรักษาต่อไป
การจัดการเลี้ยงดูลูกโคหลังคลอด
เมื่อลูกโคคลอดควรให้ความช่วยเหลือโดยเช็ดตัวให้แห้ง จัดการเอาน้ำเมือกบริเวณปากและจมูกออกให้หมด จับขาหลังยกให้ลูกโคห้อยหัวลงตบลำตัวเบาๆ จนลูกโคร้อง หากลูกโคหายใจไม่สะดวกอาจต้องช่วยหายใจด้วยการเป่าปาก เมื่อลูกโคยืนได้ให้ใช้ด้ายผูกสายสะดือให้ห่างจากพื้นท้องประมาณ 3 ซม. ใช้กรรไกรที่สะอาดตัดแล้วใช้ยาทิ้งเจอร์ไอโอดีนซุบสายสะดือคอยดูให้ลูกโคได้กินน้ำนมแม่ให้เร็วที่สุด พราะนมโคระยะแรกที่เรียกว่า นมน้ำเหลือ จะมีคุณค่าทางอาหารสูงและมีภูมิคุ้มกันโรคจากแม่ถ่ายทอดมาสู่ลูก หากลูกโคไม่สามารถดูดนมกินเองได้ควรรีดนมจากแม่มาป้อนให้ลูกกินจนแข็งแรงไม่ควรปล่อยให้แม่และลูกโคไปตามฝูง ควรจัดหาอาหารและน้ำดื่มกักไว้แยกต่างหากจากฝูงจนกว่าลูกโคจะแข็งแรงดีแล้วจึงปล่อยตามฝูง
การให้อาหารข้นเสริมลูกโคเล็ก
ลูกโคจะเริ่มหัดกินหญ้าและอาหาร เมื่ออายุประมาณ 2-3 เดือน เนื่องจากแม่โคจะให้นมได้สูงสุดในระยะนี้ หลังจากนี้จะเริ่มผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูกโคลดลงเรื่อยๆ ในขณะที่ลูกโคเติบโตขึ้นทุกวัน ลูกโคจึงจำเป็นต้องกินอาหารอื่นทดแทน ลูกโคที่กินหญ้าและอาหารได้เร็วก็จะเติบโตได้เต็มที่ การให้อาหารข้นเสริมจะทำให้ลูกโคโตเร็วขึ้น มีน้ำหนักหย่านมสูงกว่าเมื่อไม่ได้ให้อาหาร ลูกโคอายุต่ำกว่า 3 เดือน ให้กินอาหารได้เต็มที่ ถ้าอายุมากกว่า 3 เดือน ควรเพิ่มอาหารให้ทีละน้อยและค่อยๆ เพิ่มขึ้นหลังจากที่ลูกโคทุกตัวเริ่มกินอาหาร แต่ถ้าลูกโคมีขนาดต่างกัน อาจจำเป็นต้องแยกกลุ่มลูกโคตามขนาดที่ให้อาหารลูกโคควรอยู่ใกล้กับบริเวณคอกแม่โคอยู่ เพื่อที่ลูกโคจะได้เข้าไปลองกินอาหารได้สะดวก โดยทำช่องให้ลูกโคลอดเข้าไปกินอาหารได้กว้าง ประมาณ 400-450 มม. พื้นที่บริเวณให้อาหารประมาณ 30 ซม./3 ตัว ให้อาหารข้นโปรตีนมากกว่า 20% ให้กินตัวละประมาณ 600-800 กรัม
การทำลายเขาโค วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด
การมีเขาของโคไม่ได้มีผลดีทางเศรษฐกิจและอาจทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างเช่น
- เกิดอันตรายต่อผู้เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- โคมักควิดกันเอง ทำให้เกิดบาดแผล เสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการรักษา
- โคบางตัวอาจมีเขายาว เข้ามาทิ่มแทงใบหน้าหรือตาตนเองได้
- อาจเกิดอุบัติเหตุเขาเข้าไปติดหรือขัดกับคอก อาจทำให้ถึงตายได้
- โคบางตัวเขากางออก ทำให้สิ้นเปลืองเนื้อที่รางอาหาร คอก และการขนส่ง
การทำลายเขาโคยิ่งทำเมื่ออายุน้อยเท่าใดก็ยิ่งดี เพราะจะลดความเจ็บปวดจากบาดแผลที่เกิดขึ้น การจับยืดก็ทำได้ง่าย การทำลายเขาลูกโคมีวิธีการต่าง ๆ เช่น ใช้สารเคมี ใช้ความร้อนทำลาย
การตอนโค
ลูกโคตัวผู้ที่ไม่ต้องการใช้หรือขายทำพันธุ์ หรือเพื่อใช้ทำงาน ควรตอนเมื่ออายุประมาณ 5-6 เดือน โคตัวผู้ที่ต้องการใช้ทำงานควรตอนเมื่ออายุประมาณ 3-4 ปี วิเคราะห์วัวชน เพื่อให้กล้ามเนื้อส่วนหน้าของร่างกายโคได้พัฒนาตามลักษณะของโคตัวผู้อย่างเต็มที่ก่อนกล้ามเนื้อส่วนหน้าจะทำให้โคทำงานได้แข็งแรง การตอนสามารถทำได้โดยการทุบแบบพื้นบ้าน การผ่าเอาลูกอัณฑะออก แต่วิธีที่ปลอดภัยคือ การตอนโดยใช้คีม ที่เรียกว่า เบอร์ดิซโซ่ โดยใช้คีมหนีบให้ท่อนำน้ำเชื้อเหนือลูกอัณฑะอุดตัน
การหย่านมลูกโค
เกษตรกรโดยทั่วไปมักปล่อยให้ลูกโคอยู่กับแม่จนโตกระทั่งแม่โคคลอดลูกตัวใหม่ ซึ่งจะมีผลเสียทำให้แม่โคขณะอุ้มท้องใกล้คลอดมีสุขภาพไม่สมบูรณ์ เพราะต้องกินอาหารเพื่อเลี้ยงทั้งลูกโคที่กำลังอยู่ในท้องและลูกโคตัวเดิมอีกด้วย ดังนั้นจึงควรหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ เดือนครึ่ง ถึง 7 เดือน แต่ทั้งนี้ให้คำนึงถึงสุขภาพของลูกโคและแม่โคด้วย เมื่อหย่านมลูกโคที่อายุประมาณ 200 วัน ควรได้น้ำหนักหย่านมเฉลี่ย180 กก. โดยปกติ หากหย่านมลูกโคเร็วเท่าใดก็จะทำให้แม่โคมีโอกาสฟื้นฟูสุขภาพเร็วเท่านั้น ลูกโคที่โตเร็วก็สามารถหย่านมได้เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน จะมีผลให้แม่โคสุขภาพไม่ทรุดโทรมมากนัก
การตีเบอร์ วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด
การติดเบอร์หูลูกโคอาจหลุดหายได้ ดังนั้นเมื่อหย่านมช่วงที่แยกไว้ควรทำเครื่องหมายถาวรโดยตีเบอร์โคที่สะโพก ส่วนใหญ่จะตีที่ด้านข้างของโค การตีเบอร์มีแบบการตีเบอร์ร้อนและเบอร์เย็น การตีเบอร์ร้อนทำได้โดยนำเหล็กตีเบอร์เผาไฟแล้วนำมาประทับบนตัวโค การตีเบอร์เย็นใช้เหล็กตีเบอร์แช่ในน้ำแข็งแห้ง (dry ice) แทนส่วนใหญ่ ใช้การตีเบอร์ร้อนเพราะทำได้ง่ายและไม่เปลืองค่าใช้จ่าย ขาวหินหงส์ชนวันไหน วัวชนขาวหินหงษ์

การคัดโคสาวเข้าผสมพันธุ์
โคสาว หมายถึง โคเพศเมียที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป หรือน้ำหนักตั้งแต่ 240 กก. จนมีน้ำหนักถึง 280 กก. (อายุประมาณ 18 เดือน) ควรคัดโคสาวเข้าสผมพันธุ์ให้มากกว่าจำนวนแม่โคที่คัดออกไม่ต่ำกว่าหลังจากการผสมในปีแรก อาจต้องคัดแม่โคสาวที่ให้ลูกตัวแรกออกอีกมา อาจต้องคัดแม่โคออกปีละ 10 ตัว ควรคัดโคสาวเข้าผสมพันอย่างน้อยปีละ 20 ตัวสาวไว้มาก อาจทำให้ต้องลดจำนวนโคขนาดอื่นในฟาร์มลง แต่โคสาวที่คัดออกภายหลังก็มีราคาสูงกว่าเมื่อขายที่หย่านม การเลี้ยงไว้อาจคุ้มค่า คัดโคสาวที่มีลักษณะขาและเท้าไม่ดีออก ปล่อยให้โคเดินอย่างอิสระ ตรวจดูเท้าและกีบว่ามีขนาดเท่ากันหรือไม่ นอกจากนั้นควรดูตา ปาก และเต้านมด้วย โคที่ตื่นง่ายหรือไม่เชื่องควรคัดออกเพราะจะสร้างปัญหาในการเลี้ยงดู และสามารถถ่ายทอดไปยังลูกได้ โคสาวที่อ้วนเกินไปจะมีปัญหาการคลอดยากเนื่องจากลูกโคจะมีขนาดใหญ่มาก หากผอมเกินไปจะมีปัญหา เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ของมดลูกและไม่มีแรงเมื่อคลอด ให้คัดตัวที่มีลักษณะเพศเมียเอาไว้ก่อนเพราะเป็นโคที่มีโอกาสผสมติดสูงและผลิตน้ำนมได้มาก ลักษณะดังกล่าวได้แก่ มีหน้ายาว คอเรียวบาง โครงสร้างช่วงไหล่บางและหนังบาง ดูได้จากช่วงลำคอที่ราบเรียบ มีลักษณะคล้ายโคนมมากกว่าโคเจ้าเนื้อควรคัดโคที่มีลักษณะคล้ายโคตัวผู้ออก
พฤติกรรมที่โคป่วย วัวชน ขาวหินหงษ์ล่าสุด
ผู้เลี้ยงควรสังเกตความผิดปกติภายในฝูงตลอดเวลา เช่น การกินอาหาร การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ พฤติกรรมของโคที่มีสุขภาพปกติและโคป่วย
- พฤติกรรมปกติ
1. เมื่อปล่อยแปลง จะแทะเล็มหญ้าติดต่อกันประมาณ 1-3 ชั่วโมง แล้วหยุดนิ่ง (อาจยืนหรือนอน) ประมาณ 10-20 นาที จากนั้นเริ่มเคี้ยวเอื้อง ประมาณ 10-20 นาที แล้วก็ลงมือแทะเล็มหญ้าสลับกันไป
2. เมื่ออยู่ในคอก จะเคี้ยวเอื้องและหยุดนิ่งสลับกันไป
3. ขณะหยุดนิ่งอาจยืนหรือนอน บางครั้งก็หลับตา แต่หูและหางยังคงกระดิกไล่ แมลงตลอดเวลา
4. ในวันหนึ่งๆ โคจะดื่มน้ำ 3-4 ครั้ง ถ้าแปลงหญ้าไม่สมบูรณ์ วัวจะใช้เวลาแทะช้ามากที่สุด อาจจะแทะเล็มหญ้าตลอดวัน (ถ้ายังไม่อิ่ม) โดยไม่หยุดพัก
5. ปัสสาวะปกติมีสีใส หรือสีเหลืองอ่อนๆ
6. ปกติโคถ่ายอุจจาระวันละประมาณ 8 ครั้ง คือ กลางวัน 5 ครั้ง กลางคืน 3 ครั้ง รวมอุจจาระหนักประมาณ 4-5% ของน้ำหนักตัว ลักษณะอุจจาระขึ้นอยู่กับชนิดอาหาร ถ้ากินหญ้าอย่างเดียว จะมีสีเขียว กลิ่นไม่เหม็นมาก
7. การเต้นของหัวใจปกติ 60-70 ครั้ง/นาที
8. การหายใจปกติ 15-30 ครั้ง/นาที
9. อุณหภูมิร่างกายโคปกติอยู่ระ หว่าง 38-39 องศาเซลเซียส วัดโดยใช้ปรอทสอดที่ทวารหนัก
- พฤติกรรมเริ่มป่วย
1. เมื่อปล่อยแปลงจะยืนนิ่งใต้ต้นไม้ตลอดเวลาโดยไม่แทะเล็มหญ้าและไม่เคี้ยวเอื้อง
2. ขณะอยู่ในคอกไม่เคี้ยวเอื้องเลย ไม่แกว่งหางไล่แมลง ยืนหรือนอนซึมตลอดเวลา ไม่ชอบเคลื่อนไหว
3. ปัสสาวะมีสีขุ่น หรือเหลืองเข้ม หรือเหลืองปนเขียว มีเลือดปน
4. อุจจาระเหลว สีแดงหรือมีเลือดปน ถ่ายเป็นมูกหรือเป็นเม็ด มีกลิ่น เหม็นมาก มีพยาธิปน
5. หัวใจเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติ
6. หายใจหอบ ถี่ หรือหายใจเบาๆ นานๆ ครั้ง
7. อุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ