ไก่ชน อินเตอร์ กลยุทธ์เชิงรบสยบไก่พม่า
ไก่ชน อินเตอร์ กลยุทธ์เชิงรบสยบไก่พม่า กลศึกสามก๊ก เป็นการรวบรวมกลยุทธ์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำศึกสงครามที่ปรากฎในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ ในสามก๊กมีการใช้กลศึกจำนวนมากมายในการหลอกล่อศัตรูเพื่อชัยชนะ การต่อสู้ทางสติปัญญา สุดยอดแห่งกุศโลบายในการแสดงศักยภาพของกองทัพ แม่ทัพที่นำทัพในสนามรบนอกจากจะมีฝีมือในการรบที่สูงส่งแล้ว จะต้องรู้หลักตำราพิชัยสงครามเสนาธิการที่ปรึกษาทัพจะต้องรอบรู้ในทุก ๆ ด้านรู้แจ้งในกลศึกต่าง ๆ ของศัตรู รู้ถึงจิตใจของทหารใต้บังคับบัญชา รวมทั้งรู้จักฉกฉวยจังหวะสำคัญในการโจมตี จึงจะสามารถเอาชนะศัตรูได้ จูกัดเหลียง จิวยี่ สุมาอี้ ลกซุน ตั้งโต๊ะ โจโฉ กุยแกและบุคคลอื่นๆอีกมากมาย ล้วนแต่ชำนาญ กลศึกในการทำศึกสงคราม ซึ่งกลศึกสำคัญและเป็นมาตรฐานของการทำ สงครามสามก๊ก ทั้งนี้สูตรสำเร็จในการทำสงครามหรือการต่อสู้นั้น ต้องรู้เขา รู้เราจึงจะประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการชนไก่ ต้องมียุทธวิธีในการต่อสู้ เพื่อแย่งชิ’ความได้เปรียบเพื่อพิชิตชัยชนะจากประสบการณ์ของเซียนหลายๆ ท่านที่เคยนำไก่ชนไทยเข้าต่อกรกับไก่พม่านั้น พอที่จะสรุปได้ว่าหากต้องการเอาชนะไก่พม่า ไก่ชนไทยควรมีชั้นเชิงดังต่อไปนี้
- สาดแข้งเปล่า
เชิงสาดแข้งเปล่าของไก่ชนไทยนั้น ถือเป็นการใช้หนามยอกเอาหนามบ่ง เพราะไก่พม่าส่วนใหญ่นั้น จะเน้นไปที่การสาดแข้งเปล่าซะมาก เมื่อโดนสาดแก้มาบ้าง ทำให้เสียจังหวะและไม่สามารถจะทำได้ถนัดๆตามเชิงของตัวเอง
- จุ่มหน้าคอ
การจับหน้าคอแล้วสาดแข้ง ถือเป็นอีกเชิงหนึ่งของไก่ไทยที่จะใช้พิชิตไก่พม่าเพราะจังหวะที่พันตูกันอยู่นั้นหากระยะห่างไม่มากนักไก่พม่าจะทำไม่ค่อยถนัด แต่ถ้าหากไก่ไทยสามารถจะจับหน้าคอได้โดยไม่ต้องกอดนั้น จะทำให้ได้เปรียบไก่พม่ายิ่งขึ้น และถ้าหากการจับหน้าคอของไก่ไทยมีลูกถลันเข้าหาได้เร็วขึ้น ยิ่งเป็นข้อได้เปรียบไก่พม่าอีกหลายเท่าตัวทีเดียว
- ปากไวเท้าไว
ปากไว เท้าไว ก็เป็นอีกเชิงหนึ่งที่ไว้ใช้ปราบไก่พม่า เพราะปกติแล้ว ไก่ไทยจะเสียเปรียบไก่พม่าตรงที่จะต้องจับให้ติดก่อน จึงจะตีได้แต่ถ้าหากไก่ไทยตัวไหนสามารถจะจับได้เร็วและบวกกับเท้าไวด้วยแล้ว จะช่วยลดข้อเสียเปรียบตรงนี้ได้เป็นอย่างดี ยิ่งผสมกับความเร็วในการเข้าประชิดตัวได้เร็วกว่ายิ่งจะปราบไก่พม่าได้ในเวลาที่รวดเร็ว
- ล็อก
เชิงล็อกเป็นอีกเชิงหนึ่งที่พม่ากลัว เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ไก่พม่าจะต้องยืนห่างๆ ในระยะที่สาดแข้งได้ แต่เมื่อเจอไก่ล็อกของไทยโอกาสที่จะยืนห่างแล้วสาดแข้งก็มีน้อย แต่อย่างไรก็ตาม หากไก่ไทยเชิงนี้ไปเจอไก่พม่าที่ซักลิ่มเก่งๆ ก็อาจจะตกเป็นรองได้เช่นกัน
- เข้าปีกมัด
เชิงมัดปีกนี้ นับว่าเป็นเชิงที่ไก่พม่ากลัวที่สุด (อันที่จริงไก่ไทยก็กลัวเชิงนี้เช่นกัน เพราะอึดอัดและตียากมาก) เพราะไก่พม่า นั้นต้องยืนห่างและมีระยะพอสมควร แต่เมื่อมาเจอไก่มัดปีกแล้วจับสร้อยแก่ตีละก็ไก่พม่าแทบจะหมดเชิงเลยทีเดียว
- ไก่กอดทับ
ไก่กอดชนหัวลึกก็เป็นอีกเชิงหนึ่งที่พม่าไม่ชอบ โดยเฉพาะไก่ที่ชนหัวลึกแล้วใช้ตัวทับลงไปทั้งตัวนั้น ไก่พม่าจะทำอะไรไม่ถูก อาจจะถึงข้นหลงเชิงหงายไพ่ หรือเมือถูกกอดทับนานๆอาจจะเกิดอาการแผ่วจนหมดแรง และเปิดโอกาสให้ไก่ไทยพิชิตศึกนั่นคือชั้นเชิงต่างๆ ของไก่ชนไทยที่ถือว่าเหนือกว่าไก่ซนพม่า และเมื่อเข้าประลองแข้งกันแล้ว โอกาสที่จะพิชิตไก่พม่าก็มีอยู่สูง

กลเม็ดเผด็จศึกของไก่สไตล์ม้าล่อ ไก่ชน อินเตอร์
ไก่สไตล์ม้าล่อก็คือ ไก่ที่มีเชิงชนฉลาด จะเข้าปะทะคู่ต่อสู้เพื่อดูชั้นเชิงก่อน เมื่อเห็นท่าไม่ดีก็ออกวิ่งไปรอบๆ สังเวียน โถยให้อีกตัววิ่งตามแล้วหันมาดีดแข้งใส่ หู ๓ากระเดือก หรือพอวิ่งแล้วคู่ต่อสู้พลาดม้าล่อก็หันเข้ามาทำ สำหรับความหมายของม้าล่อก็คือ พาออกวิ่ง (เหมือนม้า) แล้วหันกลับมาตีคู่ต่อสู้ บางตัวอาจจะพาคู่ต่อสู้วิ่งอยู่เกือบจะทั้งอันก็มี พอคู่ต่อสู้เหนื่อยทีนี้ก็เสร็จม้าล่อ แต่ในขณะเดียวกันม้าล่อก็มีหลายอย่าง เช่น ล่อ (วิ่งหนี เอาเชิง) แล้วหันกลับมาตี แม่น คม เบอร์แข้งโหด พวกนี้ค่าตัวแพงมาก อีกประเภทหนึ่งวิ่งแล้วไม่ดีอันนี้ถือว่าใช้ไม่ได้ หรือที่เรียกว่าลำไม่โตก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน หลังจากบรีดเดอร์ไก่ชนสายพม่า มีการพัฒนาไก่สไตล์ม้าล่อมายาวนานหลายปี พอได้ข้อสรุปเกี่ยวกับลีลาชั้นเชิงของไก่ชนสไตล์ม้าล่อที่สำคัญดังนี้
ม้าล่อรำวง ไก่ชน อินเตอร์
ม้าล่อรำวง คือ ไก่ที่เน้นสาดแข้งเปล่าและชิงจังหวะหนีเพื่อหาจังหวะทำลายคู่ต่อสู้สำหรับม้าล่อสั้นที่ดีนั้น การสาดแข้งเปล่าต้องแม่นหวังผลได้และหนีเก่ง แต่ไม่ใช่หนีอย่างเดียว ต้องชำเลืองดูคู่ต่อสู้แล้วหาจังหวะเข้าทำ หรือวิ่งล่อสั้นๆ หันกลับมาตบและขว้างถี่ เพื่อเร่งปิดเกมให้เร็ว อย่างไรก็ตามไก่ชนสายพันธุ์ม้าล่อรำวงเป็นสายพันธุ์ที่มีเอกลักษณ์เชิงชนที่เป็นของตนเอง แนวทางการพัฒนาท่านต้องได้สายตัวเมียมาก่อน จึงจะสามารถพัฒนาเลือดนิ่งได้
ม้าล่อยาว หรือไก่ลีลาล่อยาว
พม่าม้าล่อยาว คือ ไก่พม่าที่มีลีลาการชนแบบวิ่งนำตลอดเวลา สำหรับม้าล่อยาวก็แบ่งเป็นหลายแบบคือ
- ม้าล่อยาว แบบวิ่งวน 2-3 รอบ แล้วกลับมาตีเป็นชุดๆ แบบนี้จะวิ่งวนพอให้ได้จังหวะค่อยกลับมาตีเป็นชุด แล้วค่อยออกวิ่งต่อไป ลักษณะการวิ่งจะวิ่งเร็ว หันกลับมาชำเลืองดูคู่ต่อสู้บ้าง
- ม้าล่อแบบวิ่งยาวตลอด แบบนี้จะเน้นวิ่งอย่างเดียวยกเว้นเมื่อคู่ต่อสู้ไม่ตามค่อยหันกลับมาตี ม้าล่อประเภทนี้เน้นร่างกายที่ดีปอดแข็งแรงเพื่อให้คู่ต่อสู้เหนื่อยล้าอ่อนแรง จากนั้นจะเป็นผู้กระทำฝ่ายเดียว บางตัววิ่งเกือบหมดยก 20 นาทีบางตัววิ่งไป 2 ยกก็มีให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง
ม้าล่อสั้นสลับยาว
พวกนี้เป็นสไตล์การชนที่ดีอีกสไตล์หนึ่ง ไก่จะวิ่งสั้นบ้างยาวบ้างตามจังหวะ ถ้าคู่ต่อสู้เผลอก็จะกลับมาตี พวกนี้เป็นม้าล่ออีกสายหนึ่งที่พบเห็นในไก่พม่าทั่วไป จุดเด่นคือ ชนสนุกมีการทำคู่ต่อสู้ตลอด จุดด้อยคือ ไก่พวกนี้มักจะเดินเข้าหาคู่ต่อสู้ จึงเข้าทางไกไมตามพม่าม้าล่อสั้นสลับยาว เป็นไก่ที่ได้รับการการพัฒนาลีลาชั้นเชิงเพื่อไว้แก้ทางคู่ต่อสู้ ซึ่งมีลักษณะเด่นดังนี้
- ล่อสั้น คือวิ่งออกสั้น ๆ แล้วโยนแข้งเปล่า วิ่งประมาณ 4-5 ก้าวแล้วขว้างคืนเลยจังหวะของการออกล่อสั้น คือจังหวะโดนบังคับมาก เช่น โดนคู่ต่อสู้เข้าปีก โดนกดคอ โดนแบกดัมพ์ไถนา หรือโดนเบียดดันมาก ๆ จุดเด่นของลีลาล่อสั้นคือการโยนแข้งเปล่าที่แม่นยำ ถ้าโยนแข็งเปล่าไม่แม่นยำก็เป้นไก่ธรรมดาชนในสนามเล็กๆ หรือบ่อนป่า แต่ตัวไหนโยนแข้งเปล่าแม่นๆตัวนั้นอนาคตไกล รับรองได้ชนแสนชนล้านในสนามระดับประเทศ แต่ถ้าตัวไหนไม่โยนแข้งเปล่าเลย ก็เป็นไก่แกง
- ล่อยาว คือ วิ่งประมาณ 1 รอบสังเวียนสองรอบสังเวียน (ไม่น่าเกินนี้ ) มาตรฐานการล่อยาวสำหรับไก่สไตล์นี้คืออย่าวิ่งยาวเกิน 2 รอบ ส่วนมากจะวิ่งครึ่งรอบหรือ 1 รอบสังเวียน การล่อยาวที่สวยงามคือ วิ่งหัวสูงชำเลืองมองคู่ต่อสู้ตลอด ถ้าได้ระยะต้องสาดแข้งเปล่าทันที ไม่ใช่วิ่งอย่างเดียว ถ้าวิ่งอย่างเดียวเรียกล่อยาว ในขณะวิ่งต้องชำเลืองมองตลอด พร้อมจะออกอาวุธไก่ล่อสั้นสลับยาวไมใช่ไก่ล่อยาวตัวจริง ดังนั้นการวิ่งจะเป็นการวิ่งเพื่อหาจังหวะทำไม่ใช่วิ่งเพื่อให้คู่ต่อสู้เหนื่อย

แนวทางการผสมพันธุ์ไก่พม่าให้ได้ลูกเก่ง
เมื่อแม่พันธุ์ใกล้ไข่ โดยแม่ไก่จะมีอาการส่งเสียงร้องก็ให้นำพ่อพันธุ์มาผสมวันละ 1 ครั้ง ตอนเช้าหรือตอนเย็นก็ได้ ผสมวันเว้นวัน เพราะว่าการผสมในครั้งหนึ่งนั้นเชื้อจะอยู่ได้ถึงสามวันจนกว่าแม่ไก่จะไข่หมดรังไข่แม่ไก่ถ้ามีความสมบูรณ์เต็มที่จะไข่ทุกวัน และไข่ที่ได้จะอยู่ประมาณ 12 ฟองขึ้นไป ในการผสมพันธุ์ไม่ควรปล่อยให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ผสมกันเองตามธรรมชาติทั้งวันเพราะจะทำให้เปลืองเชื้อโดยใช่เหตุ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ให้พ่อพันธุ์ทรุดโทรมและทำให้เชื้อไม่แข็งแรง เมื่อเวลานำไข่ไปฟักก็จะเป็นไข่ไม่มีเชื้อเดิมที่การผสมพันธุ์ระหว่างไก่พม่าสายพันธุ์แท้ด้วยกันนั้น ส่วนมากมักจะนิยมกันในแถบภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่ ซื้อขายไก่ชน ไก่ชนเหนือ เนื่องจากทางภาคเหนือมักนิยมเล่นไก่รอยเล็กไก่พม่า ไก่ชนลำพูน ป่าก๋อย ไก่ชนลําพูน ไซง่อน เมื่อนำมาผสมกันเองนั้นลูกที่ออกมาจะมีรอยที่เล็ก จึงมักไม่นิยมในภาคอื่นๆ สำหรับไก่พม่าที่เซียนนิยมนำมาเพาะมักมีเชิงต่างๆ ดังนี้คือถอยขวางถอยตี ม้าล่อ โยกหัวบน โยกหัวล่าง ฯลฯ ถ้าเราต้องการที่ผสมให้ออกมาเป็นเชิงโยกหัวล่าง เราต้องนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ 2 ตัวโยกหัวล่างมาแล้วนำมาผสมลูกที่ออกมามีเชิงโยกหัวล่างแน่นอนแต่มีบางตัวอาจมีเชิงอื่นหลุดมาบ้าง (ฝ่าเหล่า) ดังนั้นจึงต้องผสมอีกชั้นหนึ่ง โดยนำลูกจากตัวเมียที่หนึ่งและตัวเมียที่สองมาผสมพันธุ์กันแล้วจึงนำลูกที่ออกมาจากลูกแม่หนึ่ง และแม่ที่สอง นำมาผสมกับพ่อตัวเดิมอีกครั้ง เมื่อได้ลูกที่ลงเหล่าแล้วจึงนำไปผสมกับพ่อพันธุ์โยกหัวล่างตัวใหม่ ซึ่งในชั้นนี้ลูกที่ออกมาจะมีเชิง โยกหัวล่างเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การผสมพันธุ์แบบนี้จะมีปัญหาในเรื่องเลือดชิด จึงควรหาพ่อพันธุ์โยกหัวล่างตัวอื่นมาผสมบ้าง เพราะถ้าผสมเลือดชิดมากเกินไปจะทำให้ลูกที่เกิดมา นำเอาลักษณะด้อยของพ่อแม่มาด้วยคือมีความต้านทานต่อโรคต่ำ ตัวเล็ก ไม่เก่ง เทป บันทึก ไก่ชน ภาคเหนือ
เหตุผลที่พ่อเก่งให้ลูกไม่เก่ง
จากทฤษฎีทางวิซาการและภูมิของนักเล่นไก่ชนระดับเซียน ต่างมีข้อสรุปไปในทิศทางเดียว
กันว่า ในการพัฒนาไก่ชนนั้น ควรพัฒนาให้เป็นพันธุ์แท้ลงเหล่าเลือดนิ่งเสียก่อน แล้วอนุรักษ์ไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อเอาไว้ทำเป็นพ่อแม่พันธุ์เลือดนิ่งยืนเหมือนให้สืบพันธุกรรมต่อไป อีกส่วนหนึ่งเราเอาไก่พันธุ์แท้ หรือเลือดร้อยไปผสม โดยนำไก่ 2 สายพันธุ์มาทับแบบครอสบรีดดิ้ง คือผสมข้ามเหล่าข้ามพันธุ์ เพื่อเอาไปใช้งาน หรือเอาไปตี ไปชน จะเป็นไก่ลูกผสม 2 สายหรือ 3 สายก็แล้วแต่ เราใช้ประโยชน์ เพื่อตี เพื่อขายเท่านั้น ซึ่งนักปรับปรุงพันธุ์ไม่แนะนำให้เอาไปทำพันธุ์ เพราะไม่ใช่พันธุ์แท้แต่เป็นไก่พ้นทาง ซึ่งยีนไม่เป็นคู่เหมือน ถ้าเอาไปทำสายพันธุ์ ลูกที่ได้ออกมาจะไม่เหมือนพ่อแม่ จึงเป็นที่น่าสังเกตว่าไก่เก่งหลาย ๆ ตัวที่ซื้อขายกันราคาแพง ๆ ถ้าผสมไม่ลงเหล่ามักจะให้ลูกเก่งเหมือนพ่อน้อยมาก

การฝึกซ้อมไก่เพื่อปล้ำและตี
- การวิ่งสุ่ม โดยนำไก่ขังสุ่มซ้อนกัน 2 ใบ โดยมีระยะห่างกันประมาณ 1-2 นิ้วระหว่างสุ่มทั้งสองแล้วปล่อยไก่ตัวที่ต้องการออกกำลังให้วิ่งรอบสุ่ม ไก่ที่คึกจะวิ่งเลาะไก่ตัวในสุ่มวนไปมาถ้าไก่ในดูและเร้าไก่จะทำให้ไก่ตัวนอกวิ่งไม่หยุดจนหอบหากไก่ไม่วิ่งให้เปลี่ยนไก่ในหรือใช้ตัวเมียขังแทน เมื่อเห็นไก่วิ่งจนหอบและหยุดวิ่งให้นำไก่ไปยอนคอด้วยขนไก่เพื่อนำเสลดออกและขังสุ่มไว้จนหายเหนื่อยค่อยกราดน้ำผึ้งแดดและให้ข้าวกินต่อไป วิธีนี้จะทำให้ไก่ได้กำลังขาและปอดขยายและอึดดี
- การวิดพื้นหรือการตีลม ให้คนฝึกไก่นั่งบนเก้าอี้จับไก่โดดบนเบาะ โดยมือซ้ายจับที่หน้าอกไก่ส่วนมือขวาจับที่ใคนหางของไก่แล้วยบไก่ให้กระโดดขึ้นสูงระดับไหล่ของคนฝึก ไดยเริ่มโดดวันแรกจาก 30 ครั้งและเพิ่มขึ้นในวันถัดไปจนถึงวันละ 100 ครั้ง หรือจับเวลาประมาณ20-30 นาทีก็ได้ วิธีนี้ไก่จะได้กำลังปีก กำลังขาทำให้ไก่แข็งแรงและบินดี เหมาะสำหรับไก่ที่มีชั้นเชิงแบบแปะหน้าตี๋ใก่หน้าหงอน ไก่แข้งเปล่า ไก่คุมบนและไก่ตีเท้าป่า เสร็จแล้วให้ยอนคอไก่แล้วนำไก่ไปขังสุ่มจนหายเหนื่อยแล้วกราดน้ำผึ้งแดดสำหรับวิธีที่ 1 และ 2 อาจทำด้วยกันได้คือ หลังจากไก่วิ่งสุ่มแล้วนำมาวิดพื้นต่อโดยเฉพาะไก่ที่วิ่งสุ่มน้อยหรือไม่ชอบวิ่งสุ่ม แต่จำนวนครั้งที่โยนอาจจะลดลง ส่วนจะโยนที่กี่ครั้งก็ให้ดูความเหมาะสมและสภาพของไก่เท่าที่ทนได้ถ้าล้าหรือขาอ่อนก็หยุดสำหรับฝึกโดดหลุมหลุมใดด แบบประยุกด์ ด้านในรองพื้นด้วยกระสอบ
- การฝึกโดดหลุมหรือโดดกล่อง ให้ชุดหลุมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 60×60เซนติเมตร หรือ 60X80 เซนติเมตร หรือเป็นรูปวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร ลึกประมาณ60-70 เซนติเมตร่ สำหรับในกรุงเทพฯ การชุดหลุมคงจะมีปัญหาเพราะเป็นที่ลุ่ม ควรทำกล่องโดยไม้หน้าสามมาตีเป็นกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือจัตุรัสขนาดตามที่กล่าวมาข้างต้น และบุรอบด้วยผ้าหรือไม้อัดหรือวัสดุที่เหมาะสม รองกันกล่องโดยกระสอบหรือพรม เสร็จแล้วนำไก่หย่อนลงไปในกล่องหรือบ่อ แล้วใช้ไม้แหย่ให้ไก่บินขึ้นจับบนขอบกล่อง แล้วจับไก่หย่อนลงไปอีกทำซ้ำกันประมาณ 40-50 ครั้งต่อวัน โดยเริ่มจาก 20 ครั้งก่อน วิธีนี้ไก่จะได้กำลังขากำลังปีกเวลาชนบินดีและลำโต แต่ไก่บางตัวไม่ชอบบิน หรือบางตัวบินขึ้นจับขอบกล่องแล้วจะบินข้ามหัวคนฝึกลงพื้นเลย อาจทำให้นิ้ว, เล็บ, ข้อแข้งอักเสบ เสี่ยงกับอุ้งบวมและเป็นหน่อในที่สุด
- การฝึกโดยล่อ การล่อ คือ การนำไก่อีกตัวมาล่อยั่วให้ไก่ที่ต้องการออกกำลังวิ่งไล่ หรือกระโดดตีโดยใช้ไก่ล่ออยู่ในกระเป๋าล่อซึ่งมีจำหน่ายทั่วไป ถ้าไม่มีกระเป๋าก็ใช้มือจับ โดยใช้มือซ้ายจับอกและมือขวาจับขาไก่ล่อ ไก่ล่อควรผูกหรือสวมปากไก่ล่อ เพื่อป้องกันมีให้ไก่ล่อจิกไก่ตัวที่ออกกำลัง ส่วนไก่ตัวออกกำลังถ้าเป็นไก่เดือยควรพันเดือยหรือสวมนวมก็ได้ เพื่อป้องกันเวลาพลาดไก่ล่ออาจถูกแทงหรือแทงมือคนล่อก็ได้ นอกจากนี้ไก่ที่เดือยยาวและแหลมเวลาบิน แม้ไม่ถูกไก่ล่อและมือของคนล่อก็อาจแทงข้อขาของตัวเองได้ ในเรื่องนี้ผู้เขียนเคยเตือนคนล่อแต่คนล่อไม่เชื่อปรากฏว่าไก่ที่กำลังจะออกบ่อนแทงข้อขาตัวเอง ออกไม่ได้และบางตัวพิการไปเลยก็มี
- การลงนวม เป็นการฝึกซ้อมไก่หรือให้ไก่ออกกำลังคล้ายกับชนจริงๆ การลงนวมไก่เป็นการพัฒนาการฝึกซ้อมไก่เลียนแบบมาจากการลงนวมซ้อมคู่ของนักมวย ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายกันมาก ซึ่งปัจจุบันมีผู้ทำอุปกรณ์สำหรับการลงนวมหรือซ้อมคู่จำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นที่สวมปาก ผ้านวมพันแข้ง หรือนวมสำหรับสวมเดือยสำหรับนวมสวมเดือยถ้าลองสวมแล้วหลวมให้ใช้ผ้าเทปหรือผ้าพันเดือยก่อน เวลาสวมนวมจะกระซับพอดี เพื่อกันเดือยโค่นหรือเดือยอาจถอดได้
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการลงนวมไก่มีดังนี้
- นวมพันแข้งหรือนวมที่สวมเดือยในเขตกทม. และตามบ่อนมีจำหน่ายทั่วไปใดยเฉพาะที่สวนจตุจักร
- ไก่ที่เดือยยาวควรใช้ผ้าหรือเทปพันคาดเดือยก่อนที่จะใช้ผ้านวมพันเพื่อกันเดือย หากไม่มีผ้าพันนวมจะใช้ถุงเท้าแทนก็ได้
- นวมที่ทำด้วยพลาสติกที่ใช้สวมเดือยไก่ในการแช่งขันไก่บ็อกซิ่งที่ศูนย์วิชาการและสาธิตไก่พื้นเมือง จังหวัดชลบุรีนั้น ผู้เขียนไปชมและพิจารณาดูแล้วเห็นว่าแข็งไปและเป็นอันตรายมากกว่านวมที่ใช้สำลีหุ้มด้วยผ้ายืน ที่มีผู้ทำขายทั่วไป เพราะนวมพลาสติกแม้จะเบาแต่แข็งทำให้หัวหรือตาของคู่ต่อสู้แตกได้